ใจเขาใจเรา

ที่กรุงเทพ
มีร้านก๋วยเตี๋ยวร้านนึง ขายดีมากยอดขายเดือนเป็นล้าน!!

เขาประสบปัญหาหนึ่ง ที่พยายามแก้มาตลอด คือ
ปัญหาพนักงานลาออก

ส่วนหนึ่ง ไม่สู้งาน ไม่ชอบเนื้องาน และอีกส่วนหนึ่งที่เจอบ่อยๆ คือ ลาออกเพราะที่อื่นให้มากกว่า

ร้านที่ผมพูดถึงนี้ ให้ค่าแรงวันละ 400 บาท เลี้ยงข้าวด้วยสองมื้อ

พอมีร้านอื่น ที่อื่นให้ 420 บาท คนงานก็ตัดสินใจลาออกไปทำที่ที่ให้เงินมากกว่า

เป็นแบบนี้มาหลายปี

จนลูกชายเรียนจบจากนอกกลับมาช่วยงาน จึงเห็นปัญหา และแก้ไขได้อย่างชาญฉลาด

เขาเรียกพนักงาน 10 คน มาประชุมเรื่องค่าแรง และเสนอโปรเจ็คใหม่

โดยเขา จะลงทุนในครั้งแรกให้ สามพันบาท เพื่อซื้อไอติมกะทิมาขาย

โดยไอติมกะทิหนึ่งถังใหญ่ ขายหมดจะได้กำไรสองพันบาท
เขาจะลงให้ก่อน ออกทุนให้ก่อน

โดยมีข้อตกลงว่า!!!

กำไรจากการขายไอติม ทุกบาททุกสตางค์ จะเอามาหารเท่ากันหมด คือหารสิบ

ในครัวก็ได้ส่วนแบ่งด้วย ล้างชามก็ได้ด้วย ทุกคนได้หมด

วันแรกลงถังเดียว ขายหมดในวันเดียว

ในเดือนแรกขายได้ เดือนละสามสิบถัง กำไรหกหมื่น หารสิบ

เท่ากับว่า ทุกคนในร้านได้เงินเพิ่มเดือนละหกพัน หรือวันละสองร้อย ฟรีๆ

ถ้าเอาค่าแรง 400 + 200 ที่ได้จากกำไรไอติม

เท่ากับว่าพวกเขามีรายได้วันละ 600 บาท!!

เข้าเดือนที่สอง สาม สี่
ยอดขายดีขึ้นเรื่อยๆเพราะ มีการเอาท็อปปิ้งมาขายด้วย

มีลูกจาก มีลอดช่อง มีข้าวโพด และอีกมากมาย
กลายเป็นว่าขายได้วันละสองถัง

จากคนงานที่อยากจะออก กลายเป็นไม่มีใครอยากออก
จากที่บ่นเหนื่อย อยากหยุด กลายเป็นไม่มีใครอยากหยุด

จากปกติ ปีใหม่ สงกรานต์ พวกเขาจะขอลากลับบ้านทีสิบวัน

กลายเป็น ขอร้องให้เถ้าแก่เปิดร้าน!!

ก่อนหน้านี้
พนักงานเสริฟ ชอบทำหน้าหงิกใส่ลูกค้า
เดี๋ยวนี้ กลายเป็นยิ้มแย้มแจ่มใส่ ดูแลดูค้าอย่างดี เพื่อจะเชียร์ขายไอติม!!!

ก่อนนี้เขาคิดว่าเขาเป็น…แค่ลูกจ้าง
เดี๋ยวนี้เขาคิดว่าเขาคือส่วนหนึ่งของร้าน

ก่อนนี้เขานั่งมองเถ้าแก่นับเงินเป็นบึกใส่กระเป๋า
ส่วนเขานับเหรียญให้ลูกไปโรงเรียน

เดี๋ยวเขารักร้าน รักเถ้าแก่ รักลูกค้า

ทุกคนกระตือรือร้น
ขยันทำงานเองโดยไม่ต้องสั่ง! ไม่ต้องบังคับ ไม่ต้องกดดัน

พอการบริการดี… ลูกค้าก็เยอะขึ้นเป็นสองเท่า
จากยอดขายก๋วยเตี๋ยววันละสามหมื่น เป็นห้าถึงหกหมื่นต่อวัน

ทั้งหมดนี้เพราะไอติมถังเดียว ที่แก้ปัญหาคนงานลาออก
และทำให้ร้านขายดีกว่าเดิม

เขาทำธุรกิจแบบ…ใจเขาใจเรา

ให้คนในองค์กรมีส่วนร่วมกับทุกอย่าง มีรายได้ร่วมกัน
เปลี่ยนใจลูกจ้างเป็นทีมงาน

ผมเรียนรู้เรื่องนี้ และเอามาทำกับธุรกิจตัวเองนานแล้ว

คนเรา จะเอาอย่างเดียว จะกินคนเดียว รวยคนเดียว
ลูกน้องจนลำบากใครจะอยู่ ทุกคนต่างอยากมีอนาคต

และขอให้ทราบว่า

คนเราอยู่ที่ไหนแล้ว มองไม่เห็นอนาคต ก็ไม่มีใครอยากอยู่

แม้กระทั่งเรื่องชีวิตคู่ อยู่กับคนที่ไม่มีอนาคต อยู่แล้วมองไม่เห็นอนาคต
เมื่อมีโอกาส รักมากแค่ไหนก็ไป

จบโควิด แล้วลองเอาไปปรับใช้ดูครับ

งานใหญ่ไม่มีวันสำเร็จได้ ด้วยใครเพียงคนเดียว

เพราะฉะนั้น จงเห็นใจ เข้าใจ ใส่ใจ คนที่มาช่วยเราสร้างอนาคต สร้างองค์กร

ไม่มีพวกเขาทำงานให้ คุณทำเองคนเดียวได้หรือ?

เคยเห็นมั้ย
บางบริษัทประกาศผลกำไรปีนึงหลายร้อยล้าน แต่ลูกน้อง พนักงานในบริษัท จนจะตายอยู่แล้ว!

ออกเรือไปจับปลาด้วยกัน จับไม่ได้ก็อดเหมือนกัน เวลาได้ก็ต้องแบ่งกันกิน

ใจเขาใจเรา
สิริทัศน์ สมเสงี่ยม เขียน

หลังจบโควิด อย่าลืมเอาแนวคิดนี้ไปใช้นะครับ เพื่อพลิกธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง

 

New Economy

นับวันจะมีคำที่ประกบกับคำว่า Economy มากขึ้นเรื่อยๆ – ใคร รู้จัก/เคยได้ยิน แต่ไม่รู้จัก/ไม่เคยได้ยิน คำไหนบ้าง? (จะมาเติมเรื่อยๆ)

1 ) Silver economy
2 ) Blue economy
3 ) Green economy
4 ) Attention economy
5 ) New climate economy
6 ) Bioeconomy
7 ) Circular economy
8 ) Trump economy
9 ) Gig economy
10 ) New economy
11 ) Intelligence economy
12 ) Creative economy
13 ) Agile economy
14 ) Sufficiency economy
15 ) Wiring economy
16 ) Eco-economy
17 ) Emerging economy
18 ) Digital economy

ใครเจอคำอื่น ช่วยฝากไว้หน่อยนะครับ 

โพสต์: 2019-10-25 10:20

Generation Disruption

สรุปการบรรยาย Generation Disruption โดย ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานกรรมการโรงเรียนกำเนิดวิทย์ ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

ยุคนี้ เราจะเห็นความแตกต่างทางด้านความคิดของคนต่างวัยต่างรุ่นอย่างเห็นได้ชัด

ดังนั้น หัวข้อเกี่ยวกับ generation gap จึงเป็นเรื่องที่คนจำนวนมากสนใจ รวมทั้งผมด้วยครับ เพราะผมเป็นคน gen X แต่เป็นอาจารย์สอนนิสิตที่เป็นคน gen Y , gen Z และมีลูกสาวใน gen Z ด้วย

เมื่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เชิญดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ซึ่งเป็นประธานกรรมการโรงเรียนกำเนิดวิทย์, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และอีกหลายตำแหน่ง มาบรรยายเรื่อง Generation Disruption ในวันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2562 ในช่วงบ่าย จึงมีคนจำนวนมากสนใจ รวมทั้งผมด้วย

ผมจึงขอสรุปประเด็นต่างๆ ที่วิทยากรคือ ดร.ไพรินทร์ บรรยาย มาเล่าให้ฟังในบทความนี้ครับ


1. อัตราการเกิดในยุคนี้

Disruption คือความไม่ต่อเนื่อง ที่ของเก่าพังหมด ดังนั้นคนจึงพูดเรื่อง disruption ในทางธุรกิจมากขึ้น

ปีนี้ นักเรียนเข้าโรงเรียนหายไป 5 หมื่นคน เท่ากับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ 1 แห่ง แล้วสถาบันการศึกษาจะปรับตัวอย่างไร

เด็กเกิดมากหลังสงครามโลก ซึ่งเราเรียกคนที่เกิดรุ่นนี้ว่า baby boomer

ในยุคนี้ อัตราการตายลดลง เพราะคนอายุยืนขึ้น แต่อัตราการเกิดก็ลดลงด้วย

ในอนาคตอันใกล้ โลกใบนี้จะเป็นโลกของคนแก่ ไม่ใช่คนหนุ่มสาวอย่างที่คิด เพราะคนหนุ่มสาวน้อยลง

วิทยากรได้แสดงกราฟและข้อมูลต่างๆ เพื่อบอกว่า คนแก่กำลังเป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคม

แรงงานที่อยู่ในระบบจะลดลง ประชากรไทยไม่ถึง 70 ล้านคน พม่า 80 ล้านคน ฟิลิปปินส์เกือบ 100 ล้านคน ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยน้อยลงเพราะคนทำงานน้อยลง

จีนและญี่ปุ่นเจอปัญหาเรื่องคนเกิดน้อย เพราะจีนเคยมีนโยบายเรื่องลูกคนเดียว แต่ตอนนี้จีนยกเลิกนโยบายนี้แล้ว

นโยบายของญี่ปุ่นคือ เอาคนแก่ , ผู้หญิง และคนต่างชาติมาทำงาน


2. Urbanization

ประชากรไปรวมกันทำงานที่เมืองใหญ่ เด็กเกิดใหม่ก็จะทำงานเข้าเมือง

ความหมายเดิมของ smart city คือ เมืองน่าอยู่ มีการจัดสรรสิ่งแวดล้อมหรือสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ ไม่ใช่มีสลัมติดตึกสูง แต่ตอนนี้ไปแปล smart city เป็นเมืองอัจฉริยะ

สิ่งเกิดขึ้นใน urbanization คือ มีการใช้พลังงานเยอะมาก มีการจ้างงาน ทำให้คนเข้ามาทำงานมากขึ้น


3. ความแตกต่างระหว่างรุ่น

มีหลักฐานหรืองานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ว่า คนแต่ละรุ่นแตกต่างกัน

มีการทดสอบ 2 อย่างคือ ความสามารถทางชีววิทยาและความสามารถทางประสบการณ์

แบบทดสอบความสามารถเชิงชีววิทยา เช่น ความจำ การทำงาน ซึ่งคนอายุน้อยดีกว่าผู้สูงวัย เพราะความสามารถเชิงชีววิทยาจะลดลงตามอายุอย่างรวดเร็ว

แต่ความสามารถเชิงคิดวิเคราะห์หรือประสบการณ์จะดีขึ้นตามอายุ

สไลด์แสดงความสามารถของคนต่างวัย

จะเกิดการปะทะระหว่าง generation เช่น ความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันอย่างมาก หรือสไตล์การทำงานที่ต่างกัน ซึ่งคนรุ่นเดิมจะทำงานในที่เดิมนานๆ แต่คนรุ่นใหม่อดทนต่ำ จะไม่ยอมทำงานที่เดียวนานๆ

ความแตกต่างระหว่างอายุ เกิดจากความต้องการด้าน Maslow ที่แตกต่างกัน เช่น คนวัยทำงานต้องการเงินเพื่อดูแลครอบครัว คนวัยรุ่นเรียนมหาวิทยาลัยต้องการ self actualization


4. World 4.0

Gen Alpha คือเด็กอายุน้อยกว่า 7 ขวบในยุคนี้ เกิดมาพร้อมกับโลกดิจิตอลและยุคเอไอ

Gen Alpha ไม่จำเป็นต้องมีทักษะแบบคนยุคนี้ เช่น ไม่ต้องขับรถเป็น เพราะอนาคตจะมีรถอัตโนมัติ ไม่ต้องขับรถเอง

อุปกรณ์ไอที เช่น มือถือ ช่วยขยายความฉลาดและสติปัญญาของเด็กยุคนี้

แต่ความฉลาดทางวิชาการอย่างเดียวจะไม่พอ เพราะต้องมีความฉลาดทางอารมณ์ด้วย

ต่อไปมหาวิทยาลัยต้องสอน E.Q . ด้วย เพราะเด็กหาความรู้ได้จากมือถือ เนื่องจากทักษะหลายอย่างขึ้นกับ E.Q.

คนที่ไม่มีสมรรถนะทางพฤติกรรมหรือขาด competency จะเกิดปัญหาในการทำงาน

มหาวิทยาลัยไม่ได้สนใจ competency based เท่าไร


5. การเรียนตั้งแต่เด็กจนจบปริญญาตรีอาจไม่เหมาะสมในยุคนี้แล้ว

Front-loaded learning คือการเรียนอย่างเดียว เช่น เรียนตั้งแต่เด็กจนจบปริญญาตรี โท เอก แล้วค่อยออกมาทำงาน ซึ่งอาจไม่เหมาะกับโลกยุคนี้

รูปข้างบนแสดงให้เห็นว่า แค่ภายใน 5 ปี ก็มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องความต้องการของทักษะอย่างมาก

การเรียนแบบ front-loaded ที่เรียนไปเรื่อยๆ แล้วค่อยออกมาทำงานถึงจุดอิ่มตัวแล้ว บริษัทหาคนมาทำงานไม่ทัน ต้องการเด็กเข้าทำงานก่อนจบปริญญาตรี

ไอเดียใหม่ที่เสนอตอนนี้คือ เรียนแล้วออกมาทำงาน จากนั้นกลับไปเรียน แล้วก็ออกมาทำงาน ซึ่งอาจเป็นงานใหม่หรืออาชีพใหม่

ตัวอย่างเช่น เราจะเห็นแนวโน้มว่า ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพอาจมีอายุ 45 เพราะสตาร์ทอัพจากคนก่อตั้ง 20 กว่าปีมีโอกาสเจ๊ง เพราะยังขาดประสบการณ์

โรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการยัง disrupt ตัวเองไม่ได้

ไม่ต้องห่วงแทนคนรุ่นใหม่ว่า เอไอจะทำงานแทนหรือไม่ เพราะเขาจะปรับตัวเข้ากับเอไอได้ดีกว่าคนรุ่นสูงวัย

อีกประการหนึ่งคือ การทึ่มีคนทำงานน้อยลง ทำให้จำเป็นต้องใช้เอไอหรือหุ่นยนต์มาช่วยทำงานมากขึ้น

ธุรกิจของมหาวิทยาลัยเป็น red ocean เช่นมหาวิทยาลัยบางแห่งจะเปิดคณะแพทย์ ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น ทำให้ต้องมาแข่งขันกันเอง

มหาวิทยาลัยชั้นนำ 10 แห่งของโลกมีนักศึกษาประมาณหมื่นกว่าคน เพราะโฟกัสมากกว่า

ถ้าสมมติว่า มีบริษัทใหญ่ในไทยประกาศว่า ไม่รับคนที่จบปริญญาตรี จะเกิดผลกระทบกับมหาวิทยาลัยอย่างมหาศาล

และถ้ามีบริษัทแห่งหนึ่งประกาศ ก็จะมีแห่งอื่นประกาศตาม มหาวิทยาลัยต่างๆ จะเกิดผลกระทบทันที

ดังนั้น ควร disrupt ตัวเองก่อนที่จะถูกคนอื่น disrupt เพราะถ้าถูกบังคับ จะเจ็บปวดมาก ทุกคนจะหนีตายหมด

วิทยากรแนะนำหนังสือเรื่อง Super Ager ที่พูดเรื่องการพัฒนาสมองของคนสูงวัย

สไลด์บนแสดงสาระสำคัญของการบรรยายครั้งนี้ครับ

วิทยากรปิดท้ายด้วยข้อความนี้ครับ

“อย่าห่วงว่าตัวเองจะแก่ แต่จงห่วงว่าจะคิดแบบแก่ๆ”

 

WRITTEN BY

ผู้สอน CHULA MOOC ปลุกพลังความคิดสร้างสรรค์ และนักอ่านคินเดิล

อาจารย์มหาวิทยาลัยไทยเคยอยู่สบายเกินไป ล้าหลังจนไปไหนไม่รอด

Manager Online เผยแพร่:    โดย: ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ผู้อำนวยการหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (การวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล)
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


เมื่อวันก่อนผมไปเห็นรูปรูปหนึ่งจากเว็บไซต์ thewealthhike.com ผมว่ารูปนี้มันยอดมากและอธิบายได้เลยว่าทำไมอาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากจึงไม่สามารถปรับตัวได้ให้สามารถที่จะรอดพ้นวิกฤตมหาวิทยาลัยไทยจะไปไม่รอดได้

มหาวิทยาลัยไทยตอนนี้กำลังจะไปไม่รอดด้วยสาเหตุหลายอย่าง

ประการแรก คือมีจำนวนนักศึกษาลดลงมากไม่ว่าจะระดับปริญญาโท ปริญญาตรี และเป็นกันทุกมหาวิทยาลัย กระทั่งระดับประถมศึกษาก็ยังต้องไปโกงด้วยการทำบัญชีเด็กผีนักเรียนปลอมเพื่อเบิกค่าเหมาจ่ายรายหัว โรงเรียนในกรุงเทพหลาย ๆ โรงเรียนก็รับเด็กได้ไม่ครบ บางโรงเรียนประถมศึกษารับนักเรียนได้แค่ 1 ใน 6 ของที่เคยรับเด็กได้เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ทุกวันนี้เด็กที่เข้ามหาวิทยาลัยมีแค่ครึ่งเดียวของจำนวนที่มหาวิทยาลัยต้องการ แล้วก็เริ่มมีการเลย์ออฟหรือเลิกจ้างอาจารย์มหาวิทยาลัยมากขึ้นเรื่อยๆนะครับ

ประการที่สอง คือมีมหาวิทยาลัยมากเกินไป ไม่สมดุลเกิด oversupply ของมหาวิทยาลัย ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยหลายร้อย น่าจะสองร้อยกว่ามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยก็ไม่ได้เป็นที่ต้องการของสังคมมากเช่นในอดีตอีกต่อไปโดยเฉพาะในประเทศไทยซึ่งมีจำนวนมหาวิทยาลัยเป็นหลายร้อยแห่งมากกว่าจำนวนเด็กนักศึกษาที่สมัครเข้าเรียนต่อ

ประการที่สาม การไปศึกษาต่อต่างประเทศก็ทำได้ง่ายกว่ามาก เพราะต่างประเทศเขาก็ต้องการค่าเล่าเรียนจากนักศึกษาต่างชาติเช่นกัน เขาก็มีปัญหา aging society และเขาก็ต้องการเงิน มหาวิทยาลัยชื่อดังอันดับต้น ๆ ของโลกในสหรัฐอเมริกาสัมภาษณ์เพื่อนของผมก่อนไปเรียนต่อปริญญาโทด้วยคำถามคำถามเดียวว่ามั่นใจไหมว่ามีเงินจ่ายค่าเทอมครบพอจนเรียนจบ? มหาวิทยาลัยชื่อดังในต่างประเทศก็หิวเงินเป็นเหมือนกันครับ

ประการที่สี่ ซึ่งผมคิดว่าสำคัญสุด คือ การตกยุค อยู่แต่ในพื้นที่แห่งความสบายและความหวาดกลัวของอาจารย์มหาวิทยาลัยเสียเอง โดยเฉพาะอาจารย์มหาวิทยาลัยไทย

ปัญหาใหญ่ก็คือการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยทำให้อาจารย์จำนวนมากอยู่ใน Comfort Zone

ความสบายเพราะว่าความเป็นครูก็มีศักดิ์ศรีมีอำนาจเหนือนักเรียนแล้วก็สอนหนังสือในเรื่องเดิม ๆ ซ้ำ ๆ กันมาติดกันหลาย ๆ ปีไม่ต้องไปเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงภายนอกมากนัก อยู่แค่ในชั้นเรียนเป็นหลัก อาจารย์ที่สอนแต่แค่ในมหาวิทยาลัยเป็นหลักแต่อย่างเดียวก็จะอยู่ใน Comfort Zone ในห้องเรียนซึ่งตัวเองมีอำนาจมากที่สุดและในยุคที่มหาวิทยาลัยเป็นที่ต้องการของสังคมเช่นในอดีตที่ผ่านมา ก็ยิ่งมีอำนาจมากขึ้นก็สอนเฉพาะในสิ่งที่ตัวเองอยากจะสอนหรือในสิ่งที่ตัวเองรู้เท่านั้น

แต่โลกปัจจุบันเปลี่ยนไปเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดที่เรียกว่า disruptive Technology โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเกิดปัญญาประดิษฐ์ เกิดการเรียนรู้ด้วยเครื่องจักร

มนุษย์กำลังจะหมดความสำคัญกับทั้งการเรียนการสอนก็สามารถใช้หุ่นยนต์แทนคนได้ของที่ไม่เคยสอนได้เช่นเรียนภาษาหุ่นยนต์สามารถสอนภาษาและสามารถที่จะออกเสียงได้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาได้ดีมากนะครับผ่านกระบวนการที่เรียกว่าการสังเคราะห์เสียงหรือว่า Voice synthesis หุ่นยนต์ทำได้ดีมาก

หุ่นยนต์สามารถสอนคนเล่นกีฬาได้ตีปิงปองได้นะครับ shoot ลูกบาสเกตบอลแข่งกับคนได้นะครับ สมัยก่อนต้องจ้างนักกีฬาเก่ง ๆ มาเล่นคู่เพื่อให้พัฒนาฝีมือ สมัยนี้หุ่นยนต์ทำแทนได้

นอกจากนี้ยังมีหุ่นยนต์ที่มีปัญญาประดิษฐ์สามารถวาดรูปที่เป็นงานศิลปะได้แล้วก็สอนให้คนวาดรูปได้

หุ่นยนต์สามารถที่จะสอนทำกับข้าวได้ทำกับข้าวได้เหมือนกับคนโดยถ่ายวีดิโอดูจากเชฟที่เก่ง ๆ แล้วก็เรียนรู้วิธีการทำกับข้าวจากเชฟเหล่านี้เป็นต้นไป

ปัญญาประดิษฐ์เปลี่ยนโลกไปอย่างสิ้นเชิง กระทั่งการเขียนข่าวปัญญาประดิษฐ์ก็ทำให้สามารถเขียนข่าวได้โดยไม่ต้องมี journalist ไม่ต้องมีนักวารสารศาสตร์ ไม่ต้องมีนักข่าวและและผู้ประกาศข่าวก็สามารถจะใช้หุ่นยนต์ทำแทนได้เป็นอย่างดี

กระทั่งการแต่งเพลงหรือประพันธ์เพลงบอกโทนหรือท่วงทำนองที่ต้องการไปก็สามารถจะทราบได้เลยว่าจะใช้เพลงแบบไหน คอมพิวเตอร์แต่งเพลงให้มนุษย์เล่นดนตรีได้

Lone cottage

ตอนนี้อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากกำลังเข้าไปอยู่ในส่วนที่ 2 ในรูปคือโซนแห่งความหวาดกลัว อาจารย์มหาวิทยาลัยเริ่มไม่มั่นใจตัวเองว่าที่เคยเคยสอนหนังสือมา 20 ปีอย่างสบาย ๆ ด้วยความรู้ที่เรียนมา 25-30 ปีก่อนในเรื่องเดิม ๆ แต่ว่าเรื่องที่ตัวเองสอนตามที่เคยชินนั้นกำลังตกยุคไปและไม่สามารถเอาไปใช้สอนได้อีกแล้ว ทำให้ขาดความมั่นใจในตนเอง รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า ยิ่งมีการระบบการประเมิน มีปัญหาไม่มีนักศึกษาไม่มีภาระงานสอนที่เพียงพอ แย่งโหลดสอนกันเพราะชามข้าวมีข้าวให้กินจำกัด ก็ยิ่งทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยรู้สึกหวั่นไหวเป็นอย่างยิ่ง

ผมประมาณว่าทุกวันนี้อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากกว่า 70% กำลังอยู่ใน Fear Zone หรือว่าโซนแห่งความหวาดกลัว เพราะไม่รู้ว่าจะก้าวต่อไปข้างหน้าอย่างไรและก็พยายามจะโทษคนอื่น เช่น หลักสูตรของตัวเองไม่ทันสมัย ไม่เป็นที่ต้องการของนายจ้างหรือของผู้เรียนแล้ว ก็จะโทษว่าเพราะว่าประชาสัมพันธ์ไม่เป็นเพราะว่ามีคู่แข่งเยอะ แต่ตนเองไม่สามารถคิดนอกกรอบออกไปทางอื่นได้เลย ก็เลยวนอยู่ที่เก่า พาลโทษนู่นโทษนั่นโทษนี่ และเปราะบางใครวิจารณ์ก็ไม่ได้ ใครเสนออะไรก็ไม่ฟัง เพราะว่ามีอัตตาสูงลิบ

การเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยทำให้อัตตาสูงมาก ทั้งยังอยู่บนความเคยชินแห่งความสบายบนอัตตาที่ตัวเองสร้างและยึดติดไว้ทั้งสิ้น เพื่อเป็นเกราะป้องกันความอ่อนแอและไม่มั่นใจภายในของตัวเอง

แต่ถ้ายังอยู่กับอัตตาอย่างนี้ต่อไปในโซนแห่งความหวาดกลัวก็จะยิ่งไปไม่รอด เพราะจะไม่สามารถก้าวพ้นผ่านโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วมาก

ถ้าหลักสูตรไม่ปรับตัว ถ้าอาจารย์ไม่ปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา อุดมศึกษาไทยก็ไปไม่รอด ยกตัวอย่างสายสื่อหรือสายนิเทศศาสตร์จะสอนเรื่องสื่อเก่า (Old media) อย่างเดียวก็เป็นไปไม่ได้ สมัยนี้ต้องสอนเรื่องของสื่อใหม่ (New media) สื่อสังคม (Social Media) การ Cross posting ดิจิไทเซชั่นและการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลหรือ Digital transformation สมัยนี้มีทวิตเตอร์ มี Facebook มี LINE มีสารพัดสิ่งซึ่งเป็นสื่อได้ในราคาที่ถูกลงสามารถสร้าง Viral Marketing ได้ในราคาที่ถูกแสนถูกแต่ถ้าจะมาสอนกันแบบเดิมก็ไปไม่รอดเพราะไม่มีใครใช้ความรู้เช่นเดิมอีกแล้วหรือใช้น้อยลงไปมาก

แม้กระทั่งสถิติศาสตร์ก็ต้องเปลี่ยนไปจำเป็นต้องบูรณาการเป็นวิทยาการข้อมูลมากขึ้นและ Data การสอนแบบเดิมซึ่งท่องจำแทนค่าใส่สูตร สอนเป็นคณิตศาสตร์ แล้วก็อ่าน print out นั้นไม่เพียงพอ ทำงานไม่ได้จริง ไปไม่รอดเหมือนกันเพราะเอาไปประยุกต์ใช้งานจริงไม่เป็น

เนื่องจากจำนวนมหาวิทยาลัยที่มีมากทำให้นักศึกษามีทางเลือกเยอะ นักศึกษามีทางเลือกเยอะก็ต้องเลือกสิ่งที่เขาคิดว่าดีที่สุดทันสมัยที่สุดตรงกับตลาดที่สุด แล้วจบไปจะได้งานทำ เลือกมหาวิทยาลัยที่สอนให้เขามีความสามารถได้เปรียบในการแข่งขันต่อไปในอนาคต นักศึกษาย่อมต้องการเลือกสิ่งที่เขาดีที่สุดสำหรับเขาเอง

สิ่งที่สำคัญที่สุดเลยก็คืออาจารย์มหาวิทยาลัยเองก็ต้องปรับตัวอย่างรุนแรงเพื่อจะให้อยู่รอดได้ ทำอย่างไรถึงจะขยับตัวเองเข้ามาสู่โซนแห่งการเรียนรู้ (Learning Zone) อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากต้องยอมรับนะว่าตัวเองต้องไปรีสกิลหรือว่าพัฒนาทักษะใหม่ ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งอาจารย์มหาวิทยาลัยจะเป็นพวกตกยุคเต่าล้านปีเป็นจำนวนมาก

สิ่งที่เรียนมาเมื่อ 20-30 ปีก่อนมันไม่มีใครใช้แล้ว สาขาที่เห็นชัดที่สุดเลยก็คือวิทยาการคอมพิวเตอร์ซึ่งจะสอนเหมือนสิ่งที่ตัวเองเรียนมาแล้วรับรองว่าไม่มีใครอยากจะเรียนด้วยเพราะว่ามันตกยุคไปหมดเรียบร้อยแล้ว ปีเดียวก็ตกยุคแล้ว การเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยมันจึงไม่ใช่เรื่องง่าย

ที่สำคัญนักเรียน นิสิต นักศึกษาสมัยนี้ก็สามารถเรียนด้วยตัวเองได้บนโลกออนไลน์ ทั้งแต่ Coursera, Khan Academy, MOOC มีมากเหลือเกิน สิ่งที่อาจารย์มหาวิทยาลัยต้องทำก็คือต้องพาตัวเองพ้นออกมาจาก Comfort Zone จะนั่งรอให้เด็กมาสมัครแล้วเรียนเป็นลูกศิษย์โดยที่ตนเองยังไม่มีอะไรที่เป็นที่ต้องการของสังคมนั้นคงไม่ประสบความสำเร็จอีกแล้ว ตลาดเป็นของผู้ซื้อคือนักเรียน ไม่ใช่ของผู้ขายคืออาจารย์หรือมหาวิทยาลัยอีกต่อไป

ที่น่าสลดใจมากคือมหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งก็เลือกที่จะไปขายของเอาปริญญาเป็นการตลาดไปเลยซึ่งผมก็ไม่ได้เห็นด้วย สิ่งที่จำเป็นต้องมีก็คือต้องมีความคิดนอกกรอบและมีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ให้ดีขึ้นโดยเฉพาะหลักสูตรที่ตัวเองสอนและความรู้ที่ต้องพัฒนาให้ทันสมัยและเป็นที่ต้องการของสังคมอย่างแท้จริง

นักศึกษาสมัยนี้ต้องการเรียนกับอาจารย์ที่ออกไปทำงานข้างนอกแล้วมีประสบการณ์จริง ไม่ใช่อาจารย์ที่สอนแต่ตามตำราเพียงอย่างเดียว

การที่อาจารย์ออกไปทำงานข้างนอกก็จะทำให้อาจารย์ในพ้นจาก Comfort Zone และ Fear Zone เพราะว่าได้เจอของจริงก็จะรู้ว่าของจริงในการทำงานนั้นควรเอาอะไรมาใช้ และก็จะได้รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองสอนนั้นสามารถที่จะเอาไปใช้จริงได้อย่างไร ในขณะเดียวกันก็เกิดการเรียนรู้และปรับปรุงพัฒนาความรู้นำมาทำวิจัยต่อยอดก็ได้ การที่อาจารย์มหาวิทยาลัยจะไปปฏิบัติจริง จะไปให้คำปรึกษาก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ทำให้อาจารย์เกิดการเรียนรู้ทั้งนั้น อาจารย์มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องทำงานนอกมหาวิทยาลัยเพื่อให้ได้ความรู้และประสบการณ์ที่ทันสมัยเอาไปสอนนักศึกษาถึงจะอยู่ได้ การที่ออกไปทำงานข้างนอกก็จะทำให้เจอปัญหาและความท้าทายต่างๆสารพัดซึ่งตำราไม่มีและเป็นสิ่งที่นักศึกษาอยากจะรู้โดยเฉพาะการสอนปริญญาโทหรือเอกภาคพิเศษ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ที่ทันสมัย อาจารย์ผู้สอนต้องมีความคล่องตัวแล้วก็รอบรู้เพื่อจะแก้ปัญหาอย่างบูรณาการได้ และได้พบปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโลกของการทำงานภายนอกซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยความรู้เชิงเดี่ยวอย่างที่อาจารย์มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ถนัดได้อีกต่อไป

นอกจากนี้อาจารย์มหาวิทยาลัยยังจำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ซึ่งตัวเองไม่เคยทำได้มาก่อน เช่น ถ้าจะสอนคณิตศาสตร์ให้ได้สนุก ก็อาจจะต้องเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ด้วยเพราะว่าช่วยให้ทำสื่อการสอนได้เองได้ดีมากขึ้นด้วย ในขณะเดียวกันการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ยาก ๆ ซับซ้อนในทุกวันนี้ใช้วิธีการเชิงตัวเลขหรือว่าใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยได้มาก สิ่งที่จะต้องสอนคือวิธีการคิดหรือทักษะในการคิดที่อยู่เบื้องหลังและเอาวิธีการคิดแบบคณิตศาสตร์แบบนี้มีวิธีการคิดอย่างไร ไปประยุกต์ใช้มากกว่าการท่องจำแทนค่า ใส่สูตร กดคอมพิวเตอร์ เท่านั้นแบบเดิม ๆ อีกต่อไป

อาจารย์มหาวิทยาลัยจะต้องขยาย Comfort Zone ของตัวเองออกไปสู่สิ่งที่ตัวเองไม่ถนัดแต่เรียนรู้ได้เพิ่มเติมได้ด้วยตัวเอง ถ้าจะสอนแต่อย่างเดิมไม่คิดเปลี่ยนหัวข้อสิ่งที่ตัวเองสอนก็ตกยุคตกสมัยไปเรียบร้อยแล้วไม่มีทางอยู่ได้

สิ่งที่อยากเห็นก็คืออาจารย์มหาวิทยาลัยต้องพาตัวเองก้าวพ้นจากโซนแห่งความกลัวมาสู่โซนแห่งการเรียนรู้ เมื่อไหร่ก็ตามที่ก้าวเข้ามาสู่โซนแห่งการเรียนรู้ก็จะต้องเจอปัญหา ต้องหาทักษะใหม่ ต้องก้าวออกไปจากความสบายของตัวเอง นักเรียนจะเรียนรู้ได้ก็ต่อเมื่ออาจารย์ต้องเรียนรู้ก่อน และนักเรียนต้องการเรียนรู้ในสิ่งที่นำไปใช้ได้จริง

อาจารย์ที่ท่องตำรามาสอนเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เป็นที่ต้องการของนักเรียนอีกต่อไป มหาวิทยาลัยไม่ใช่มีหน้าที่ท่องหนังสือมาพ่นไฟให้นักศึกษาฟัง แต่ต้องสอนในสิ่งซึ่งเป็นทักษะและประสบการณ์เฉพาะตัวซึ่งไม่สามารถถ่ายทอดกันได้ง่าย ๆ นอกจากการลงมือทำ จับมือเด็กทำ โค้ชชิ่ง ให้ผลย้อนกลับ บอกเขาว่าอะไรถูก บอกเขาว่าอะไรผิด บอกเขาว่าอะไรควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ทำสิ่งที่ทำแล้วเอาไปใช้ได้จริงได้ นี่คือสิ่งที่นักเรียนต้องการ

เพราะว่าถ้าจะเอาแค่เลคเชอร์หรือบรรยายนักเรียนก็สามารถดูจาก YouTube ก็ได้ดูจากวีดิโอก็ได้ มีอีเลิร์นนิ่งมากมายเต็มไปหมดและฟรีด้วย ไม่จำเป็นต้องเข้าเรียนมหาวิทยาลัยอีกต่อไป

ใบปริญญาก็ไม่ได้มีความสำคัญมากเช่นในอดีตอีกต่อไปเพราะว่าคนสามารถแสวงหาทักษะใหม่ได้ตัวเองได้โปรดอย่าลืมว่าในอนาคตกว่าจะเกษียณอายุการทำงาน ผลการศึกษาวิจัยพบว่าคนเราจะเปลี่ยนอาชีพอย่างน้อย 5 ครั้งหรือเปลี่ยนงานที่ทำอย่างน้อย 5 ครั้ง ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต อาจารย์ก็มีความจำเป็นต้องปรับตัวให้ทำได้เช่นนั้นจึงจะสามารถไปสอนนักศึกษาให้ปรับตัวและเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตเช่นกัน

สุดท้ายเลยเราต้องผันตัวเองเข้าไปสู่โซนแห่งการเติบโต ต้องรู้ว่าเป้าหมายของการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยคืออะไร และต้องมีเป้าหมาย มีแรงบันดาลใจ อยู่ด้วยความฝันอยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลง อยากจะเห็นการพัฒนาประเทศในด้านไหน

ขอยกตัวอาจารย์รุ่นเก่า ๆ ที่เข้ามาสอนหนังสือด้วยแรงบันดาลใจที่ต้องการจะพัฒนาวงการ เช่น รองศาสตราจารย์สดใส พันธุมโกมล มีเป้าหมายและมีความฝันที่จะพัฒนาการละครสมัยใหม่ในประเทศไทย และทำในสิ่งที่เชื่อและเชื่อในสิ่งที่ทำ แล้วก็หาความฝันต่อเนื่องตลอดเวลา จนประสบความสำเร็จ ได้รับการยกย่องเชิดชูเป็นศิลปินแห่งชาติ เป็นที่เคารพนับถือของลูกศิษย์มากมายในวงการละครและบันเทิง

ปัญหาคือหลายครั้งสิ่งที่ตัวเองอาจารย์มีอินเนอร์อาจจะเป็นสิ่งที่ตกยุคไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นอาจารย์มหาวิทยาลัยก็อาจจะจำเป็นต้องสร้าง Goal ใหม่ ตั้งวัตถุประสงค์ที่ท้าทายแล้วจะเอาชนะต่อไปให้ได้ในอนาคต

Sky tree
ถ้าอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ปรับตัวให้พ้นจากพื้นที่ความสบายหรือ Comfort Zone หรือส่วนใหญ่ตอนนี้กำลังอยู่ในพื้นที่ของความกลัวด้วยซ้ำ มาเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้และพื้นที่แห่งการเติบโตแล้วคุณจะไม่ได้ไปต่อ

หลักสูตรที่สอนแต่วิชาเดิม ๆ คิดแบบเดิม ๆ ไม่ได้เรียนรู้ทักษะอะไรใหม่เลย อาจารย์จะเป็นคนที่เป็นโมฆะเพราะมหาวิทยาลัยก็ไม่ต้องการ ในขณะเดียวกันหากคุณจะออกไปทำงานข้างนอกก็ไม่สามารถไปได้เพราะไม่มีทักษะอะไรใหม่เพียงพอที่ภาคเอกชนจะต้องการตัว

นี่คือสิ่งที่อาจารย์มหาวิทยาลัยจะต้องเรียนรู้ ออกจากพื้นที่แห่งความสบายและพื้นที่แห่งความกลัวกันเถิดไม่ใช่เพื่อเฉพาะประเทศชาติ ไม่ใช่เฉพาะเพื่อนักศึกษา ไม่ใช่เพื่อนายจ้าง/มหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว แต่เพื่อตัวอาจารย์มหาวิทยาลัยเองจะได้อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี มีแรงจูงใจภายใน และมีความใฝ่ฝันที่จะทำในสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้น มีความเปลี่ยนแปลงท้าทายในชีวิตตลอดเวลา ถ้าอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ก้าวพ้นจุดนี้มหาวิทยาลัยไทยก็ไปไม่รอดเช่นกัน

7 สิ่งที่ต้องสอนให้เด็กรุ่นใหม่ ให้รุ่งทันโลก

7 สิ่งที่ต้องสอนให้เด็กรุ่นใหม่ ให้รุ่งทันโลก                  #ภาววิทย์กลิ่นประทุม

ใครๆ ก็พูดกันว่า AI จะมาแทนแรงงานจำนวนมาก ..แต่สิ่งที่ทำให้เราไม่โดนทดแทน แถมมีโอกาสรุ่งพุ่งแรงในอนาคต โดยงานวิจัยของ Dr. Tony Wagner, co-director of Harvard’s Change Leadership Group พบว่า เด็กรุ่นใหม่ต้องเก่งใน 7 เรื่องนี้

  1. Critical thinking and problem-solving..คือ คิดเป็น และ แก้ปัญหาได้ …จากเดิมที่เราสอน ท่องจำ แล้วทำตาม ต้องสอนให้ นักเรียน ฝึกตั้งคำถาม ออกข้อสอบเอง และ แก้ปัญหาจริง
  2. Collaboration across networks and leading by influence …อันนี้คือ การสอนให้เด็กมีทักษะของการทำงานร่วมกัน …มันคือ การขยายการเรียนรู้ในเรื่องกิจกรรมนอกห้องเรียน เพราะ กิจกรรมจะสอนการทำงานร่วมกัน และ ฝึกทักษะของการเป็นผู้นำ …จากเดิม พ่อแม่จะคิดว่า ให้ลูกตั้งใจเรียนอย่างเดียว ซึ่งยุคนี้ กิจกรรมนอกห้องเรียน สำคัญต่อการไปทำงานให้รุ่งมากกว่า
  3. Agility and adaptability…อันนี้คือ การสามารถรับมือกับข้อผิดพลาด เรียนรู้แล้วเดินต่อ …พ่อแม่ยุคก่อนจะเลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน ไม่ให้โอกาสให้ลูกกล้าทำอะไร เพราะถ้าไม่เชื่อฟัง แล้วพลาดก็จะถูกลงโทษซ้ำเข้าไปอีก …ทำให้เด็กไทยกลัว ไม่กล้าทำอะไรใหม่ๆ ไม่กล้าลองผิดลองถูก …ซึ่งการกล้าลองผิดลองถูก ไม่กลัวล้ม แล้วเรียนรู้จากประสบการณ์กลายเป็นสิ่งสำคัญที่สร้างให้เป็นคนเก่งที่โลกยุคใหม่ต้องการ
  4. Initiative and entrepreneurialism …คิดแบบผู้ประกอบการ สำคัญมากในยุคนี้ เพราะ บริษัทหรือนายจ้าง ยังเอาตัวเองไม่รอด …แต่ปัญหาคือ เรายังติดระบบการศึกษาที่สร้างลูกจ้าง ไม่ได้สร้างนายจ้าง

ลูกจ้าง คือ เด็กที่ทำข้อสอบเก่ง แล้วไม่มีผิดพลาด แล้วก็ต้องทำคนเดียว ต้อง One Man Show

แต่ผู้ประกอบการ ต้อง ตั้งโจทย์เอง ข้อสอบคือชีวิตจริง ..ลอกข้อสอบคนอื่นก็ได้ ร่วมมือกับคู่แข่งก็ได้ เขาเรียก Team Work

ถ้าโรงเรียนจะสอน ผู้ประกอบการ ต้องเปลี่ยนอาจารย์เป็นแค่โค๊ช …ไม่สอน แต่คอยประคอง …นักเรียน เหมือน นักฟุตบอล …ที่ต้องชนะใจแฟนบอล และ ทำประตูให้ได้ด้วย

พูดง่ายๆ เราควรสอนเด็กให้ฝึกเป็น Star ไม่ใช่สอนเด็กให้เป็น Product เป็นแค่สินค้าเหมือนในปัจจุบัน

  1. Effective oral and written communication …ต้องสอน พูด และ เขียน ให้เก่ง …ทักษะนี้คือ ‘การสื่อสาร’ นั่นเอง …จะมีประโยชน์อะไรถ้าคุณคิดเก่ง แต่สื่อสารไม่เป็น

เด็กต้องจับขึ้นเวที ผลัดกันพูด เป็นวิชาบังคับ …เรื่องการพูด ไม่มีพรสวรรค์หรอก อันนี้ผมรู้ดี เพราะ เจอกับตัวเอง …สมัยเด็กผมกลัวเวที ไม่กล้าพูด …แต่วันนี้มีอาชีพเป็นนักพูด …ไม่ได้มาจากพรสวรรค์เลย มันมาจากงานผม มันบังคับให้พูด ค่อยๆ ฝึก จากเวทีเล็ก จนใหญ่ขึ้นไป

เรื่องนี้ ถ้าผมทำได้ บอกตรงๆ มันคือทักษะที่ฝึก ฝึก และ ฝึก …ใครก็ทำได้ ฝึก ฝึก !!

  1. Accessing and analysing information …ทักษะการเลือกข้อมูลที่จำเป็น …สมัยก่อน คนเก่งคือ อ่านเยอะ มีข้อมูล แต่ยุคนี้ ทุกคนมีข้อมูลมากเกินไป …ข้อมูลมันอยู่บนอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว

เด็กยุคนี้ต้องฝึกเป็น Curator คือ ความสามารถในการเลือกข้อมูลที่จำเป็น

You are what you eat เช่นกัน ข้อมูล ถ้าเสพแต่สิ่งเน่า เราก็เน่า …เลือกเสพข้อมูล …โลกวันนี้น้ำเน่ามาก เพราะ ทักษะการเลือกเสพข้อมูลเรายังไม่เก่ง ตรงนี้แหละ ที่ต้องพัฒนาคนรุ่นใหม่

  1. Curiosity and imagination …พัฒนาความอยากรู้ และ กล้าฝัน …อันนี้ตรงข้ามกับเด็กไทยเป็นที่สุด …เด็กเราไม่กล้าถาม เพราะ สังคมเราบีบว่า ถ้าใครยกมือถาม มันดูเสร่อ ..ถ้าถามอาจดูโง่ …เลยโง่จริงๆ เพราะ ไม่ได้ถาม

‘อย่าเพ้อฝัน’ ไปทำการบ้าน ….อันนี้ทำให้เด็กเรา เป็นลูกจ้างที่เก่ง แต่ไม่เป็นนายจ้างที่ดี …อย่าว่าแต่ไปถึงขั้นนายจ้างเลย ขั้นแรก พัฒนาจากแนวคิดลูกจ้าง ให้มาเป็นแนวคิดนายตัวเอง ก็ยังยากเพราะ ทักษะการตั้งโจทย์ ความอยากรู้ และ การกล้าฝัน นี่แหละ ที่ต้องฝึกฝน

ก็ลองไปปรับใช้กับลูก กับ เยาวชน ของเราดูกันครับ

#ภาววิทย์กลิ่นประทุม

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังนั่ง และ ภาพระยะใกล้

กินอาหารให้เป็นยา

คำไว้อาลัยงานพระราชทานเพลิงศพ นายแพทย์สุรพล รักปทุม

“ท่านเป็นหมอ ทำงานรักษาคนไข้มาตลอดชีวิต เปิดคลีนิคของตัวเอง ร่วมธุรกิจกับพอล-ภัทรพลเปิดบริษัทผลิตยา และลงทุนกับยุรนันท์ ภมรมนตรี

เปิดคลีนิคสุขภาพ เป็นที่ปรึกษาให้เหล่าดาราไปฉีดสเตมเซลล์เพื่อรักษาสุขภาพชลอความแก่ มีลูกค้าเป็นดารามากมาย และเงินทองก็มีมากเช่นกัน แต่กลับพบว่าตนเองป่วยเป็นมะเร็งที่ตับ และใช้เงินที่หามาทั้งชีวิตพยายามรักษาตัวเองด้วยการไปผ่าตัดเปลี่ยนตับที่เมืองนอก กลับมาอยู่เมืองไทยได้ไม่นาน ตรวจพบมะเร็งรุกลามมาที่ปอด ก็ยังพยายามหาวีธีต่อสู้กับมะเร็งร้ายเรื่อยมา สุดท้ายก็ไม่อาจเอาชนะมันได้

 ท่านเสียชีวิตในที่สุด ท่านฝากให้พวกเราทั้งหลายระลึกไว้ว่า

อย่าคิดว่าหมอจะช่วยชีวิตคุณได้ หมอที่ดีคือตัวคุณ ดูแลชีวิตตัวเอง ดีกว่าให้ใครมาช่วยชีวิต

 

 คำถามที่น่าคิด คุณมีเงิน แต่คุณมีค่าไหม? เรามักแสวงหาสิ่งที่เราคิดว่ามีค่ามากที่สุดในชีวิต แต่สุดท้าย ทุกคนหนีไม่พ้นอนิจจัง หมั่นคิดดี พูดดี ทำดี คุณค่าของชีวิต สร้างได้โดยไม่ต้องใช้เงินมากมาย

 สุขภาพดีมาจากไหน

พื้นฐาน 4 ประการ​ในชีวิตประจำวัน คือ

😊  สภาวะจิตที่สงบสุข

😄  มีโภชนาการที่สมดุล

😅  ออกกำลังกายพอเหมาะ

😌  นอนหลับให้เพียงพอ 

 

คนเราจะอยู่ได้​อย่างมีคุณภาพ​ต้องอาศัยอวัยวะทั้ง 5 คือ ตับ หัวใจ ม้าม ปอด และไต

 

บรรดาโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เกิดจากการกินทั้งนั้น

ในเมื่อกินแล้ว​ทำให้เกิดโรคได้  ก็ต้องกินแล้ว​รักษาโรคได้เช่นกัน  

 

เรากินอาหารเพื่ออวัยวะ​ชิ้นไหนกันแน่ ?

เราอยู่ได้ เพราะอาศัยพลังงาน​จากอวัยวะทั้ง 5 

  • ตับดี ชอบให้กินสีเขียว
  • หัวใจดี ชอบให้กินสีแดง
  • ม้ามดี ชอบให้กินสีเหลือง
  • ปอดดี ชอบให้กินสีขาว
  • ไตดี ชอบให้กินสีดำ

 

คำว่าดุลยภาพ หมายถึง​กินหลากหลายชนิด

  • ตับมีปัญหา สีหน้าจะออกเขียว
  • หัวใจมีปัญหา สีหน้าจะออกแดง
  • ม้ามมีปัญหา สีหน้าจะออกเหลือง
  • คนไข้หอบหืด สีหน้าจะออกขาว
  • คนไข้ไตเสื่อม สีหน้าจะออกดำ

 

ว่าด้วยเรื่องอาหาร

  • ถั่วเขียวบำรุงตับ

 คนทั่วไปมักจะต้มถั่วเขียวไปทีเดียว​จนเละ ซึ่งไม่ถูกต้อง

วิธีต้มถั่วเขียว​ที่ได้ประโยชน์ ที่ถูกคือ ต้มถั่วเขียวจากน้ำเย็นจนน้ำเดือดประมาณ 5-6 นาที​ โดยก่อนที่ถั่วจะแตกเม็ด ให้รินเอาน้ำออก​มา จะได้น้ำถั่วเขียวที่มีสีเข้มข้นที่สุด ให้นำน้ำนั้นมาดื่ม ดื่มแล้วจะมีสรรพคุณขับพิษสูงสุด จากนั้นจึงเติมน้ำใหม่ลงในหม้อที่มีถั่วเขียวอยู่ ต้มต่อจนถั่วนิ่มเละ กินเป็นอาหาร

 

  • หัวใจชอบสีแดง ให้กินถั่วแดง
  • ม้ามชอบสีเหลือง ให้กินถั่วเหลือง
  • ปอดชอบสีขาว ให้กินถั่วขาว
  • ไตชอบสีดำ ให้กินถั่วดำ

 

ทำไมถึงให้กินแต่ถั่ว? เพราะตำรายาจีนมีคำว่า  “คนเรากินถั่วทั้ง 5 จะสมบูรณ์พูนสุข ”

โภชนาการแผนจีน ก็เน้นว่า “กินไม่พ้นถั่ว” ดังนั้น เราควรบริโภคถั่วตลอดชีวิต​

 

ในตำรายาจีน ได้พูดถึง รสชาติ ไว้ดังนี้

  • เปรี้ยวบำรุงตับ (หากกินมาก ตับพัง)
  • ขมบำรุงหัวใจ (หากกินมาก หัวใจพัง)
  • หวานบำรุงม้าม (หากกินมาก ม้ามพัง)
  • เผ็ดบำรุงปอด (หากกินมาก ปอดพัง)
  • เค็มบำรุงไต (หากกินมาก ไตพัง)

หมายความว่า ต้องกินให้ครบทุกรสชาติ และกินแต่พอดี

 

กินอาหารอย่างไร​จึงจะเหมาะ ?

ง่ายนิดเดียว ขอแนะนำว่า แต่นี้ไป​ ให้กินผักดิบผลไม้สดในแต่ละมื้อ ถ้าเปลือกกินได้ก็กินทั้งเปลือกยิ่งดี 

เพราะแพทย์แผนจีนถือว่า กินของดิบลดอาการร้อนใน แพทย์แผนปัจจุบันก็ถือว่า ผักผลไม้สดดิบ​ให้วิตามินดีกว่า

 

ขอส่งท้ายด้วย 4 ประโยคดังนี้

“ หมอที่ดีที่สุด คือ ตัวเรา

โรงพยาบาลที่ดีที่สุด คือ ห้องครัว

ยาที่ดีที่สุด คือ อาหารที่มีคุณค่า 

การรักษาที่ดีที่สุด คือ เวลา ”

 

 สรุปว่าต่อไปนี้​

–  กินอาหารให้เป็นยา ไม่ใช่กินยา เป็นอาหาร

–  อารมณ์ดี หัวเราะ สามเวลา เพื่อห่างไกลจากโรคและยา

– บริโภคถั่ว ตลอดชีวิต เพื่อบำรุง​อวัยวะทั้ง 5 คือ ตับ หัวใจ ม้าม ปอด และไต

จึงควรกินทั้ง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วขาว และ ถั่วดำ นั่นเอง !!!

– ให้กินผักดิบ ผลไม้สด​ที่สะอาดปลอดสารพิษ ถ้าเปลือกกินได้ ก็กินทั้งเปลือก

– กินอาหารให้ถูกต้อง เปรียบเสมือน กินยาจากธรรมชาติ​ที่ดีที่สุดนั่นเอง !!!

ที่ดินถมแล้ว 128 ตรว. ซ. ร่วมสุข 5/6 ถ. ติวานนท์

ท่านที่มองหาที่ดินเพื่อปลูกบ้าน ในบรรยากาศสงบ เนื้อที่กว้าง อยู่ใกล้เมือง ราคาไม่แพง

ที่ดินขนาด 128 ตร.วา แปลงหัวมุม (25×20 เมตร)

ถมสูง ปลูกพืชมานานสิบปี พร้อมปลูกบ้าน

10 ฟีเจอร์เทพบน Google Drive ให้คุณใช้ชีวิตง่ายกว่าเดิม 10 เท่า

10 ฟีเจอร์เทพบน Google Drive ให้คุณใช้ชีวิตง่ายกว่าเดิม 10 เท่า

10-google-drive-tips-feature

Google Drive เป็นบริการหนึ่งของกูเกิล ที่หลายคนใช้สำหรับฝากไฟล์ภาพ ไฟล์เอกสาร และใช้สำหรับแชร์ไฟล์ไปให้คนอื่น ซึ่งสิ่งที่เจ๋งของมันก็คือเราสามารถเปิดไฟล์งานได้จากทุกที่ขอเพียงแค่มีอินเทอร์เน็ตเป็นพอ

แต่นอกจากฝากไฟล์และแชร์ไฟล์แล้ว กูเกิลไดรฟ์ยังสามารถทำอีกหลายสิ่งที่เราไม่คาดคิด อย่างการพิมพ์งานด้วยเสียงแบบไม่ต้องเปลืองแรงนิ้ว การแปลงไฟล์ภาพเอกสารให้กลายเป็นตัวอักษร รวมไปถึงการใช้งานแบบออฟไลน์ได้อีกด้วย แต่จะทำยังไงนั้นลองมาอ่านกันดู เรารวมวิธีมาให้ทั้งหมดแล้ว!

1. สั่งพิมพ์งานด้วยเสียง

2. แปลงไฟล์ภาพเอกสารเป็นตัวอักษร

3. เพิ่มฟีเจอร์ให้ Google Drive ด้วยปุ่ม Add-Ons

นอกจากการใช้งานอย่างพิมพ์งานธรรมดาแล้ว เรายังสามารถเสริมทักษะให้กับ google ไดรฟ์ได้ด้วย อย่างเช่นการไฮไลท์ข้อความได้ง่ายๆ การแปลภาษาได้ภายใน Google Drive โดยที่ไม่ต้องย้ายโปรแกรม เป็นต้น

4. ค้นหาภาพและแทรกรูปได้ง่ายๆ ผ่านปุ่ม Explore(สำรวจ)

ในการพิมพ์งานเอกสารบางครั้งเราต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Google หรือบางครั้งก็ต้องการหาภาพเพื่อใช้ประกอบบทความทำให้เราต้องเปิดหน้าต่างขึ้นมาหลายหน้าต่างเพื่อหาข้อมูลเหล่านั้นแต่จริงๆแล้วใน Google Drive ไปเองก็มีปุ่ม Explore  ซึ่งจะช่วยให้เราประหยัดเวลาในขั้นตอนนี้

5. ค้นหาข้อมูลได้อัตโนมัติ ไม่ต้องย้ายหน้าต่าง

นอกจากการค้นหารูปภาพที่โพสไปแล้วในข้อ 5 นั้น ปุ่ม Explore(สำรวจ)  ยังช่วยให้เราสามารถแทรกเนื้อหาเว็บไซต์เข้ามาได้อีกด้วย

6. google ไดรฟ์ให้เราสามารถใช้งานพร้อมกันได้หลายคน

7. Take notes ได้เหมือนใช้งานโพสต์อิท

เราสามารถ comment งานได้โดยที่ไม่ต้องพิมพ์เข้าไปในไฟล์งานจริง ลักษณะจะเหมือนกับการแปะโพสต์อิทบนกระดาษ A4 นั่นแหละ ซึ่งนอกจากจะสามารถเพิ่มความคิดเห็นได้แล้วโปรแกรมยังจะแสดงให้เรารู้ด้วยว่า comment นั้นมาจากใคร

8. เมื่อพิมพ์งานเสร็จแล้วเราสา

นอกจากการแชร์ไฟล์ไดรฟ์แล้วเรายังสามารถกดเลือก เผยแพร่ทางเว็บให้กับไฟล์งานของเราได้ด้วย สิ่งที่ต่างจากการแชร์ลิงค์ไดรฟ์ธรรมดาก็คือเนื้อหาข้อมูลจะออกมาเป็นรูปแบบเว็บไซต์ที่ผู้อื่นไม่สามารถเข้ามาแก้ไขได้ ก็จะขึ้นอยู่กับการใช้งานของเราว่าต้องการแชร์เนื้อหาให้เป็นแบบไหน

9. สามารถดูประวัติการแก้ไขงานย้อนหลังได้

การใช้งาน Google Drive โปรแกรมจะคอยบันทึกการแก้ไขชิ้นงานให้เราอย่างอัตโนมัติ ทำให้เราสามารถกลับมาดูประวัติการแก้ไขได้ โดยสามารถดูการแก้ไขย้อนหลังได้ถึง 100 ครั้งเลย

10. ใช้งาน Google Doc แบบออฟไลน์ได้

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วคงจะคิดว่า google ไดรฟ์มีประโยชน์ก็จริงแต่ว่าถ้าไม่มีอินเตอร์เน็ตทุกอย่างก็คงทำอะไรไม่ได้ เราเลยจะขอค้านและบอกว่าถึงจะไม่มีอินเตอร์เน็ตก็ยังสามารถใช้งาน Google Doc ได้

10 ความยาก (ลำบากแล้วดี) ในยุคนี้ที่เปลี่ยนไป

คนอะไร.. ช่างเขียนเรื่องได้ตรงใจ น่าอ่าน

ติดตามบล็อกของคิดแบบภาววิทย์ ของคุณภาววิทย์กลิ่นประทุมมาตลอด เป็นคนหนุ่มที่มีมุมมองเฉียบคม น่าติดตาม น่าเรียนรู้ และให้ข้อคิดดีๆ นำไปปรับใช้ในชีวิตได้เสมอ.. บทความนี้ก็เช่นกัน

10 ความยาก (ลำบากแล้วดี) ในยุคนี้ที่เปลี่ยนไป

‘ความยาก ความง่าย ในโลกนี้มันเปลี่ยน เมื่อเวลาเปลี่ยนไป’ …ลองเช็คดูซิว่า ที่เราคิดว่า เราเก่ง เราทำเรื่องยากได้ มันจริงอย่างนั้นหรือเปล่า ?

1. ความยากในยุคก่อน คือ ‘คนที่ทำอะไรได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน Multitask เป็นเรื่องยาก’ …แต่ยุคนี้ ใครๆ ก็ทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน …ความยากในยุคนี้คือ ‘ใจจดจ่อ ทำสิ่งเดียว’ (Focus)

2. มีจะกินเป็นเรื่องยากสมัยก่อน ..แต่ความยากในยุคนี้คือ ควบคุมการกิน

3. สิ่งที่ฆ่าชีวิตคนในยุคก่อนมากที่สุด คือ ภัยธรรมชาติ , โรคภัย และ สงคราม …แต่สิ่งที่ฆ่าชีวิตคนมากที่สุดในยุคนี้คือ ‘อาหารที่คุณกินไม่เลือก’

4. ธุรกิจยุคก่อน ชนะกันที่ ผลิตเยอะ ให้ต้นทุนต่ำ …ธุรกิจยุคนี้ ล้มละลายกันตรง ผลิตมากและขายไม่ได้

5. คนสมัยก่อน เรียนสูงได้เปรียบ …คนยุคนี้ คนเริ่มทำงานเร็ว มีประสบการณ์ตรงก่อน ได้เปรียบ

6. เงินทุนสมัยก่อน หายาก …เดี๋ยวนี้ นายทุน วิ่งหาธุรกิจเพื่อเอาเงินไปให้ …ใครถ่ายวิดีโอ เสนอไอเดียเก่ง สามารถหาเงินมหาศาลตั้งแต่ยังไม่ได้ลงมือทำอะไรเลย …สิ่งที่หายากในยุคนี้คือ ‘คนทำงาน ที่มีประสบการณ์จริง’

7. คนใช้เงินเก่ง หาง่ายทุกยุค ..ยิ่งยุคนี้ ใช้เก่ง โชว์ออฟ หาง่าย …คนหาเงินเก่ง ใช้เงินเป็น แทบหาไม่เจอเลย

8. คนพูดเก่ง หาง่าย …แต่คนฟังเก่ง หายาก …โดยเฉพาะ ในองค์กร ผู้บริหารที่ฟังเก่ง แทบไม่มีเลย …เรื่องตลก คือ การแก้ปัญหา และ การเจอทางออกของปัญหา มันเริ่มจากการฟังที่ดี

9. ทุกวันนี้ เราซื้อเสื้อผ้า และ สิ่งของ เกินกว่า ความสามารถในการใช้ …ความยากคือ การห้ามใจ ไม่ให้ซื้อสิ่งที่ไม่จำเป็น

10. การชื่นชม และ พอใจ ในสิ่งที่เราได้มา เป็นเรื่องที่ยากมาก …เราจึง จิตตก และ พยายาม วิ่งไล่หาสิ่งที่ไม่มี ทั้งในเรื่องของ วัตถุ เงิน และ อำนาจ ….ทางสู่ความสุข เริ่มต้นง่ายๆ จากการเริ่ม พอใจ และ ขอบคุณ สิ่งที่เข้ามาในชีวิต

‘ความเกลียด และ ความอิจฉา’ เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย แต่ ‘ความรัก และ ความชื่นชมคนอื่น’ เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก

แต่ความตลกร้ายของโลกใบนี้ คือ ‘ความรัก และ ความชื่นชมคนอื่น’ เป็น เครื่องมือวิเศษ ที่จะพาเราไปสู่ โอกาสชีวิต ทั้งความร่ำรวย และ ความสุข

1. ‘ความรัก คือ การสร้าง ..สะสม …ส่งเสริม’ …ความเกลียด คือ การทำลาย ..การแตกแยก ซึ่งนำไปสู่ความล้มเหลว และ ความยากจน

ถ้าถามว่า ความร่ำรวย เริ่มจากอะไร ? – ตอบง่ายๆ คือ เริ่มจาก ความรัก

2. ‘ความชื่นชมคนอื่น’ คือ การหาข้อดีของคนอื่น …เป็นจุดเริ่มของความร่วมมือและการต่อยอด

ถ้าถามว่า ‘โอกาส’ เกิดที่ไหน ? – ตอบง่ายๆ ว่า เริ่มจากความชื่นชม และ การมองเห็นข้อดีของคนอื่น

….ลองพิจารณา ‘ความคิด’ ของเราให้ดี เราอาจจะพบว่า คนที่ขัดขวางโอกาส ขัดขาความรวย ขัดแย้งความสุข …มันคือ ความคิด ของเราเอง !!

#ภาววิทย์กลิ่นประทุม

Eye mark ที่ปลายหลอดยาสีฟัน

การเลือกซื้อยาสีฟันโดยให้ดูที่สีปลายหลอด เป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือ..

กระบวนการผลิตที่ต้องการให้ Register ถูกต้องเที่ยงตรง ต้องใช้เครื่องหมายสำหรับให้เครื่องตรวจจับด้วยกล้อง เพื่อกำหนดตำแหน่งได้ถูกต้อง โดยเป็นสีที่แตกต่างจากพื้นอย่างเด่นชัด มี contrast สูง